หน้าเว็บ

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กองทัพบกไทย จะได้รับยานเกราะล้อยาง BTR-3 ชุดใหม่ อีก 21 คัน

ที่ประเทศยูเครน ผู้แทนจากกองทัพบกไทย และผู้แทน Ukrspecexport แห่งยูเครน ได้มีการลงนามยอมรับทางเทคนิค สำหรับยานเกราะล้อยาง BTR-3 ชุดใหม่ อีกจำนวน 21 คัน ที่ทางการยูเครนเตรียมจะนำส่งให้กับทางการไทย ในกรอบของข้อตกลงระหว่างรัฐบาลยูเครนและรัฐบาลไทย โดยยานเกราะล้อยางจำนวน 21 คัน แบ่งเป็น BTR-3E1 รุ่นลำเลียงพล จำนวน 15 คันแรก ที่สั่งซื้อตามสัญญาที่สอง และอีก 6 คัน คือ BTR-3RK รุ่นต่อสู้รถถัง ที่สั่งซื้อตามสัญญาแรก ..

*BTR-3RK รุ่นต่อสู้รถถัง ฉายา "นักฆ่ารถถัง" สามารถนำพาจรวดนำวิถีต่อสู้รถถังไปกับรถได้ถึง 16 ลูก (4 ลูก ติืดตั้งไว้ภายนอก  และรวมกับที่เก็บไว้ภายในรถอีก 12 ลูก) โดยจรวดนำวิถีต่อสู้รถถังมีระยะยิงถึง 5 กิโลเมตร ..BTR-3RK ยังมีระบบควบคุมการยิงที่ทันสมัย มี Thermal Imaging ที่จะช่วยให้ค้นหาเป้าหมายในทุกช่วงเวลาของวันเป็นระยะทางถึง 5 กิโลเมตร ซึ่งกำหนดทิศทางของแหล่งความร้อนได้อย่างแม่นยำ นอกจากนั้นยังมีการติดตั้งปืนกลหนักขนาด 12.7 มม. มากับรถด้วย

http://www.ukrspecexport.com/
http://kotobood.livejournal.com/1195818.html

เรือหลวงกระบุรี ทำการทดสอบระบบหน้าท่า (HAT)

เรือหลวงกระบุรี ทำการทดสอบระบบหน้าท่า (Harbor Acceptance Test: HAT) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วน และการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ตามโครงการปรับปรุงเรือฟริเกต ชุดเรือหลวงเจ้าพระยา ขณะจอดเทียบ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เมื่อ ๒๔ - ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖
   
 
 

ที่มา: http://www.frigate2.com/News/kraburi/kranews1.htm

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครม.อนุมัติการจัดซื้อเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ลำใหม่ ของกองทัพเรือ

ภาพแบบเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ลำใหม่ ของกองทัพเรือไทย

คณะรัฐมนตรีอนุมัติการดำเนินการด้านงบประมาณในการจัดหาเรือฟริเกตของกองทัพเรือ

คณะรัฐมนตรีอนุมัติการดำเนินการด้านงบประมาณ เพื่อให้กองทัพเรือจัดหาเรือฟริเกตจำนวน 1 ลำ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2556 เพื่อนำไปใช้ในการป้องกัน รักษาอธิปไตยของชาติ และการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ซึ่งจะเป็นหลักประกันในการสร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจทางทะเล และจัดหาเพื่อทดแทน เรือฟริเกต ชุด ร.ล. พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ครบกำหนดปลดประจำการในปี 2558 และ 2561 ตามลำดับ จึงมีความจำเป็นจัดหาเรือฟริเกตจำนวน 2 ลำ โดยลำที่ 1 กำลังจัดหาในครั้งนี้ในปีงบประมาณ 2556 – 2561 ส่วนลำที่ 2 จะพิจารณาดำเนินการจัดหาต่อไป
            
เรือฟริเกตที่จัดหาจะมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการรบได้ 3 มิติ  คือ การปฏิบัติการสงครามใต้น้ำ  การปฏิบัติการสงครามต่อต้านภัยทางอากาศ และการปฏิบัติสงครามผิวน้ำ  โดยสามารถปฏิบัติงานร่วมกับ ฮ.ทร.
            
ในการรับ-ส่ง ฮ. และนำ ฮ.เข้าเก็บในโรงเก็บ ฮ.ได้  นอกจากนั้น ยังได้เพิ่มขีดความสามารถของระบบตรวจการณ์ และระบบอาวุธในการปฏิบัติการสงครามใต้น้ำ  และการป้องกันภัยทางอากาศให้มีประสิทธิภาพสูง อีกทั้งระบบอาวุธและระบบอำนวยการรบ ได้รับการออกแบบให้มีขีดความสามารถในการเชื่อมต่อข้อมูลทางยุทธวิธี ที่สามารถใช้งานร่วมกับระบบการรบของเรือฟริเกต ชุด ร.ล. นเรศวร และ ร.ล.จักรีนฤเบศร ได้ เป็นผลทำให้การปฏิบัติการรบร่วมในลักษณะกองเรือ (Battle Group) รวมทั้งการปฏิบัติการรบร่วมกับอากาศยานของกองทัพอากาศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประกอบกับข้อเสนอการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่บริษัทฯ เสนอ จะทำให้เพิ่มขีดความสามารถให้อู่เรือไทยและบุคคลากรทั้ง ทร. และภาคเอกชนให้มีความรู้ความชำนาญ รองรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการใช้เทคโนโลยี การพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงการบำรุงรักษา ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือรบในประเทศได้
           
กองทัพเรือได้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นมาดำเนินการ โดยได้เชิญชวนอู่เรือของประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา จำนวน 13 ราย ซึ่งรวมถึงอู่เรือจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ด้วย เพื่อเปิดกว้างให้มีการแข่งขันให้ ทร. ได้รับประโยชน์สูงสุด โดยมีผู้เสนอแบบเรือ 5 ราย ได้แก่ อู่เรือจากสาธารณรัฐอิตาลี ราชอาณาจักรสเปน สาธารณรัฐเกาหลี  (2 ราย) และสาธารณรัฐประชาชนจีน หลังจากนั้นได้ดำเนินการคัดเลือกแบบตามแนวทางการจัดหายุทโธปกรณ์หลักของกองทัพเรือ  โดยผลการพิจารณาปรากฏว่า แบบเรือของบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering Co., Ltd. (DSME) สาธารณรัฐเกาหลี สามารถตอบสนองภารกิจของกองทัพเรือได้ดีที่สุด และเป็นแบบเรือที่ตรงตามความต้องการของกองทัพเรือมากที่สุด จึงได้รับการคัดเลือก
          
แบบเรือฟริเกตที่ได้รับการคัดเลือก เป็นแบบที่พัฒนามาจากเรือพิฆาตชั้น Kwanggaeto Class Destroyer (KDX-I)  ซึ่งเรือฟริเกตที่กองทัพเรือจัดหา มีการออกแบบและสร้างเรือ โดยใช้มาตรฐานทางทหารของสหรัฐฯ และกองทัพเรือเกาหลี อีกทั้งได้รับการรับรองเป็นแบบที่ได้รับรองจากสถาบันจัดชั้นเรือซึ่งเป็นสมาชิกของ IACS (International Association of Classifications Society)  โดยแบบเรือดังกล่าว มีระวางขับน้ำสูงสุด  3,700 ตัน ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง 30 นอต  ระยะปฏิบัติการประมาณ 4,000 ไมล์ทะเล กำลังพล 136 นาย ลักษณะของเรือออกแบบโดยใช้ Stealth Technology และลดการแพร่คลื่นแม่เหล็กตัวเรือ รวมทั้งลดการแพร่เสียงใต้น้ำ ติดตั้งระบบอำนวยการรบและระบบอาวุธจากยุโรปและอเมริกา ซึ่งสามารถปฏิบัติการรบได้ทั้ง 3 มิติ รวมทั้งป้องกันตัวเองในระยะประชิด ตามมาตรฐานยุโรป สหรัฐฯ และกองทัพเรือที่มีใช้งานและกำลังจัดหา
           
การสร้างเรือ จะดำเนินการ ณ อู่ต่อเรือของบริษัท DSME สาธารณรัฐเกาหลี ในระหว่างปี 2556 – 2561 โดยมีค่าจ้างสร้างเรือรวมทั้งสิ้นประมาณ 14,600 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม อะไหล่เครื่องมือ เอกสาร  ส่วนสนับสนุน การทดสอบทดลอง การฝึกอบรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


ที่มาhttp://www3.navy.mi.th/index.php/main/detail/content_id/2330

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รถถังหลัก OPLOT กับชุดพราง "Kontrast"

ภาพ รถถังหลัก OPLOT กับชุดพราง "Kontrast" สำหรับกองทัพบกไทย

Thai Armed Force Photo Gallery- RTAF:RTN:RTA:RTP - Page 68 By : Donetskiy

http://kotobood.livejournal.com/1193549.html
http://andrei-bt.livejournal.com/231917.html
http://mil.in.ua

วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การฝึกภาคปฏิบัติในทะเลหลักสูตรการปฏิบัติการร่วม ระหว่างเรือหลวงกับอากาศยาน และหลักสูตรเจ้าหน้าที่ประจำดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์


กองการฝึก กองเรือยุทธการ ทำการฝึกภาคปฏิบัติในทะเลหลักสูตรการปฏิบัติการร่วมระหว่างเรือหลวงกับอากาศยาน และหลักสูตรเจ้าหน้าที่ประจำดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์ ณ พื้นที่การฝึก บริเวณอ่าวไทยตอนบน ระหว่างวันที่ ๒๕ ถึง ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๖ มีกำลังที่เข้าร่วมการฝึก ประกอบด้วยเรือ จำนวน ๒ ลำ ได้แก่ เรือหลวงนราธิวาส และ เรือหลวงกระบี่ อากาศยานฝึก จำนวน ๓ เครื่อง ได้แก่ เครื่องบินลาดตระเวน (DO-228) เฮลิคอปเตอร์ตรวจการณ์ผิวน้ำ (SUPER LYNX) เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ (S-70B) โดยมี นาวาเอก พิสิษฐ์ จตุรัสกรพัฒน์ หัวหน้ากองฝึกศูนย์ยุทธการและสื่อสาร กองการฝึก กองเรือยุทธการ เป็นผู้บังคับหมู่เรือฝึก

วัตถุประสงค์ในการฝึก เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการปฏิบัติการร่วมระหว่างเรือกับอากาศยาน มีความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติการร่วมระหว่างเรือกับอากาศยานของ ทร. สามารถประสานงานกับอากาศยานได้ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ สามารถเข้าใจในการสถานีและการปฏิบัติการสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์บนเรือ ทั้งยังสามารถควบคุมอากาศยานแบบต่าง ๆ ของกองทัพเรือได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์ มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติหน้าที่บนดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถดูแลบำรุงรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ได้อย่างถูกต้อง


ที่มา: http://www.fleet.navy.mi.th/ftc/117.php

วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การฝึกร่วมกองทัพไทย ประจำปี 2556_STINGRAY FIRE

รถถังเบา COMMANDO STINGRAY ขณะดำเนินกลยุทธเข้าตีด้วยกระสุนจริง ในการฝึกร่วมกองทัพไทย ประจำปี 2556 ที่สนามฝึกยิงปืนใหญ่รถถัง อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
 รถถังเบา SCORPION_การฝึกร่วมกองทัพไทย ..
รถสายพานลำเลียงพล M113 ของกองทัพบกไทย ติดปืนกลขนาด 12.7 มม. และ 7.62 มม_การฝึกร่วมกองทัพไทย ..


Thumbnail

ภาพถ่ายและวิดีโอโดย Sompong Nondhasa