หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กองทัพเรือตรวจรับปืน SIG516


อัปโหลดโดย เมื่อ 25 พ.ค. 2011

ความก้าวหน้าในการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.994

ภาพถ่ายแสดงความก้าวหน้าในการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.994 ล่าสุด ซึ่งเรือชุดนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 ลำ โดยเรือ ต.994 เป็นลำแรกสร้างที่กรมอู่ทหารเรือ กองทัพเรือ ส่วนอีกสองลำคือเรือ ต.995 และ ต.996 สร้างที่บริษัท Marsun Company Limited อู่ต่อเรือภาคเอกชนของคนไทยที่มีความเชี่ยวชาญในการต่อเรือประเภทต่างๆ ให้กับลูกค้าทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ทั่วโลก




กำหนดพิธีปล่อยเรือ ต.994 ลงน้ำ : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.994 ลงน้ำ ณ อู่หมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ วันที่ 11 กรกฎาคม เวลา 16.00 น. นี้ ซึ่งภายหลังปล่อยเรือ ต.994 ลงน้ำ กองทัพเรือจะส่งเรือไปติดตั้งระบบเรดาร์ และเครื่องควบคุมการยิงที่ป้อมพระจุลฯ ในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมนี้ พร้อมทำการทดสอบเพิ่มเติมตัวเรือว่ามีข้อขัดข้องหรือไม่ ก่อนส่งมอบและบรรจุเข้าประจำการในเดือนกันยายน (ที่มา: http://www.naewna.com/news.asp?ID=266338)

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รองเสนาธิการทหารอากาศ ตรวจความก้าวหน้าการจัดสร้าง โครงการปรับปรุงและพัฒนาพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ


พลอากาศโท วุฒิชัย คชาชีวะ รองเสนาธิการทหารอากาศ ในฐานะ รองประธานคณะกรรมการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์และอุทยานการเรียนรู้ประวัติการบินกองทัพอากาศ ตรวจความก้าวหน้าการจัดสร้าง โครงการปรับปรุงและพัฒนาพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ ณ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๔

ข่าวจาก:  กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ
http://www.rtaf.mi.th/museum/index.html

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รองเสนาธิการทหารอากาศ นำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชม การสาธิตการปฏิบัติการบินของเครื่องบินขับไล่แบบ GRIPEN 39 C/D


พลอากาศโท วุฒิชัย คชาชีวะ รองเสนาธิการทหารอากาศ ในฐานะประธานอนุกรรมการฝ่ายกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ โครงการจัดซื้อ เครื่องบินแบบ GRIPEN 39 C/D นำคณะสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ไปเยี่ยมชม การสาธิตการปฏิบัติการบินของเครื่องบินขับไล่แบบ GRIPEN 39 C/D และ SAAB 340 AEW/B เหนือฝั่งทะเลอันดามัน เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๔


*กำหนดการจัดพิธีบรรจุเครื่องบินขับไล่แบบ GRIPEN 39 C/D เข้าประจำการ จะมีขึ้นในวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔
 

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ความจำเป็นสำหรับการมีเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทย


จากการที่ประเทศไทยของเราโดยกองทัพเรือเคยมีประจำการด้วยเรือดำน้ำ จำนวน 4 ลำ (ร.ล.มัจฉาณุ, ร.ล.วิรุณ, ร.ล.สินสมุทร และ ร.ล.พลายชุมพล) ขึ้นระวางประจำการครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 พร้อมกันทั้ง 4 ลำ หรือเมื่อ 73 ปี ที่แล้ว โดยเรือชุดดังกล่าวนี้ต่อที่อู่ บริษัท มิตซูบิชิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2479 อันเป็นไปตามโครงการจัดสร้างกำลังรบทางเรือสำหรับป้องกันประเทศ ให้เข้มแข็ง และทันสมัยขึ้น ซึ่งในสมัยนั้น เรือดำน้ำเป็นกำลังรบที่ใหม่ ทรงอานุภาพทางทะเลมากที่สุด เพราะสามารถกำบังตัว หรือหลบหนีด้วยการดำน้ำ สามารถเข้าไปปฏิบัติการในพื้นที่ซึ่งเรือผิวน้ำไม่สามารถเข้าไปได้ และมีอาวุธตอร์ปิโดอันเป็นอาวุธสำคัญที่เป็นอันตรายแก่เรือผิวน้ำมากที่สุด ไม่มีเครื่องมือค้นหา และอาวุธปราบเรือดำน้ำที่จะทำอันตรายแก่เรือดำน้ำได้ ดังเช่นปัจจุบันนี้ จึงนับได้ว่าเรือดำน้ำ เป็นกำลังสำคัญในการป้องกันประเทศทางทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง


เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ของกองทัพเรือได้ถูกใช้งานตามภารกิจในการป้องกันประเทศอย่างมากมาย โดยครั้งสำคัญก็เป็นกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส ซึ่งได้สร้างความหวาดหวั่นแก่ข้าศึกอย่างมาก เพราะหลังจากยุทธนาวีที่เกาะช้าง ระหว่างราชนาวีไทย กับ กองเรือรบอินโดจีนฝรั่งเศส โดยทางฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบจำนวนหลายลำเข้าสู่อ่าวไทย เพื่อหวังรุกราน และบีบบังคับให้ไทยยอมแพ้ แต่ก็ได้รับการต้านทานจากฝ่ายไทยอย่างเข้มแข็ง เกิดการรบกันทางทะเลระหว่างกองเรือรบของทั้งสองฝ่าย ซึ่งทหารเรือไทยได้สร้างวีรกรรมอันเป็นที่จดจำ จนได้รับยกย่องและยอมรับนับถือทั้งจากคนในชาติและจากฝ่ายศัตรู ในเลือดนักสู้ของลูกราชนาวีไทย ที่ได้ทำการต่อสู้เพื่อปกป้องมาตุภูมิของตนเองด้วยความเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ แม้การรบครั้งนี้จะทำให้เราต้องสูญเสีย เรือรบหลวงธนบุรี และเรือตอร์ปิโด พร้อมด้วยลูกเรือจำนวนหนึ่งต้องพลีชีพไป แต่ฝ่ายฝรั่งเศสก็ได้รับความบอบช้ำและได้รับความเสียหายอยู่มากเช่นกัน จนได้ล่าถอยและถอนกำลังออกจากอ่าวไทย ซึ่งส่วนหนึ่งนั้นมาจากการที่ฝรั่งเศสรู้ว่าเรามีเรือดำน้ำ จึงมีความหวั่นเกรง โดยต้องรีบถอนกำลังกลับเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากการโจมตีของเรือดำน้ำไทย และนั่นเป็นการรุกรานไทยด้วยกองเรือรบของฝรั่งเศสเพียงครั้งแรกและครั้งสุดท้ายในตอนนั้น เพราะหลังจากนั้นมันไม่เกิดขึ้นอีกเลย ...


จนกระทั่งเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 หลังจากที่เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ได้รับใช้กองทัพเรือไทยและประเทศชาติอยู่เป็นเวลา 13 ปี มันจึงได้ถูกปลดระวางประจำการไป เนื่องจากช่วงเวลานั้นเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศญี่ปุ่นผู้แพ้สงคราม ต้องปฏิบัติตามพันธสัญญาของผู้แพ้สงครามที่ทำกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะ โดยห้ามไม่ให้มีการผลิตเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับทางทหาร และอยู่ในช่วงที่ญี่ปุ่นต้องทุ่มเททรัพยากรต่างๆ ไปในการฟื้นฟูประเทศภายหลังสงคราม ทำให้กองทัพเรือไทยไม่สามารถคงการใช้งานเรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ไว้ได้ เนื่องจากการขาดแคลนอะไหล่ที่จำเป็นสำหรับการซ่อมบำรุงเรือให้ใช้งานต่อไปได้ และเหตุผลอื่นๆ อันเกี่ยวเนื่องกับพันธสัญญาของสงครามและเพื่อแลกกับการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศในด้านต่างๆ จากประเทศมหาอำนาจ ..

จากที่เกริ่นนำมา ก็ได้ทราบแล้วว่าเรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ของเราถูกปลดระวางประจำการไปเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 นับถึงปัจจุบัน ประเทศไทยโดยกองทัพเรือไทยจึงได้ว่างเว้นจากการมีเรือดำน้ำมาแล้วเป็นเวลา 60 ปี .. โหนี่ตั้ง 60 ปีนะ บางทีผมก็มานั่งคิดเล่นๆ มันเป็นเพราะอะไร ทำไมเราว่างเว้นการมีเรือดำน้ำนานขนาดนั้น ช่วงเวลาที่ว่างเว้นมันก็หมายถึงว่าเราได้ห่างหายหรือขาดหายไปจากเทคโนโลยี ความรู้ และความคุ้นเคยในการใช้งานเรือดำน้ำ รวมถึงองค์ความรู้ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการของเรือดำน้ำ ช่วงเวลาห่างหายหรือขาดหายไปนั้นผมก็มาตั้งคำถามว่า:-

1.ยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศทางทะเลของเราเปลี่ยนไปหรือไม่ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เพราะเหตุใดช่วงเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่ที่เราได้ปลดระวางเรือดำน้ำชุดแรกไปแล้ว ภายหลังจากนั้นทำไมจึงไม่มีความพยายามในการจัดหาเรือดำน้ำชุดต่อมาให้เข้าประจำการอย่างต่อเนื่องกัน?
2.ประเทศเราไม่มีภัยคุกคามทางทะเลในทางมิติใต้น้ำใช่หรือไม่?
3.หรือเพราะอะไร?..

แต่ทั้งหลายทั้งปวงที่ผมพยายามจะหาเหตุผล ก็ยังหาคำตอบไม่ได้ว่าเพราะอะไร "ทำไมเราจึงไม่มีเรือดำน้ำ"


จะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ สิ่งที่ผ่านมาแล้วในอดีตผมจะไม่ไปคิดให้ปวดหัวแล้ว กลับมาสู่ปัจจุบัน มีคำถามว่าจำเป็นไหมที่เราจะมีเรือดำน้ำ.. ตอบให้ตรงนี้ได้เลยว่า "จำเป็นมาก" (มากกว่าในอดีต) เพราะอะไร

1.ที่ตั้งทางภูมิศาตร์ของประเทศไทยถูกปิดล้อมทางทะเลได้ง่าย
2.เศรษฐกิจของประเทศต้องพึ่งพาการส่งออกสินค้า คิดเป็นมูลค่ามหาศาลต่อปี ซึ่งการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศต้องพึ่งพาการขนส่งทางทะเลกว่า 90 %
3.ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลจำนวนมหาศาลที่จะต้องได้รับการปกป้องคุ้มครอง (แหล่งทรัพยากรท่องเที่ยว การประมง แหล่งก๊าชธรรมชาติ แหล่งน้ำมัน การค้าทางทะเล ..)
*ประเทศไทยมีความยาวของชายฝั่งทะเลรวมฝั่งอ่าวไทยและอันดามันกว่า 2,815 กิโลเมตร ใน 23 จังหวัด มีอาณาเขตทางทะเลกว่า 350,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นกว่าครึ่งหนึ่งของอาณาเขตทางบกที่มีอยู่ประมาณ 513,000 ตารางกิโลเมตร
4.ปัญหาความขัดแย้งด้านเขตแดนและผลประโยชน์ทางทะเลกับประเทศรอบบ้าน (มีความไม่แน่นอน) และอาจจะขยายบานปลายไปสู่การใช้กำลังรบอย่างเต็มรูปแบบ
5.ภัยคุกคามทางทะเลในมิติใต้น้ำ เนื่องจากประเทศรอบบ้านหลายประเทศมีประจำด้วยเรือดำน้ำ และมีบางประเทศในภูมิภาคนี้ก็กำลังมีการจัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการ รวมทั้งบางประเทศก็มีแนวโน้มว่าในอนาคตอันใกล้ก็จะมีการจัดหาเข้าประจำการด้วยเช่นกัน
6.เพื่อผลในการป้องปรามและเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจา


และเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นผมขอยกตัวอย่างสถานการณ์สมมุติที่อาจจะเกิดขึ้นได้สำหรับกรณีที่เรามีความขัดแย้งกับบางประเทศจนถึงขั้นต้องตัดสินปัญหาด้วยการต้องทำสงครามกันอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งฝ่ายตรงข้ามนั้นมีศักยภาพทางทหารไม่แพ้กันกับเราและเหนือกว่าเราในบางส่วน ดังเช่น ถ้าเกิดฝ่ายตรงข้ามเขามีเรือดำน้ำแต่เราไม่มี และเขาได้ส่งเรือดำน้ำจำนวนหนึ่ง มาปิดอ่าวไทย เพื่อหวังผลให้เกิดความปั่นป่วน และการหยุดชงักของระบบเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากฝ่ายตรงข้ามทราบว่าเศรษฐกิจของประเทศเราต้องพึ่งพาการส่งออกและต้องมีการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศผ่านเข้าออกช่องทางทางทะเลกว่า 90% เมื่อเรือสินค้าไม่ยอมเอาเรือออกจากท่าเนื่องจากเกรงกลัวภัยจากเรือดำน้ำ การขนส่งสินค้าไปสู่ผู้ซื้อผู้ขายในต่างประเทศก็ทำไม่ได้ ส่งผลถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ ก็หยุดชงักไปด้วย.. ซึ่งก็มีคำถามว่าแล้วกำลังรบส่วนอื่นของเราที่ไม่ใช่เรือดำน้ำ ไม่ว่าจะเป็นเรือรบผิวน้ำน้อยใหญ่ประเภทต่างๆ ที่มีขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำ เครื่องบินตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำ เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ และยุทโธปกรณ์ทางทหารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่เรามีอยู่ไม่สามารถรับมือได้หรือ ขอบอกว่าได้ แต่ไม่เพียงพอ มีความสิ้นเปลือง และมีผลทางจิตวิทยาในด้านการสร้างความหวาดเกรงได้น้อยกว่าเรือดำน้ำ เพราะอะไรหรือ เพราะสิ่งเหล่านี้มันอยู่เหนือน้ำไง มองเห็นได้ง่ายกว่า และถูกตอบโต้กลับได้เช่นเดียวกัน ต่างจากเรือดำน้ำที่ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน แค่การมีอยู่ของเรือดำน้ำในพื้นที่ปฏิบัติการเพียงแค่ 1-2 ลำ ฝ่ายตรงข้ามที่คิดจะยกกำลังเข้ามาในอ่าวไทย ก็หวาดระแวงภัยจากเรือดำน้ำแล้ว ได้ผลในแง่ของจิตวิทยา ฝ่ายตรงข้ามไม่กล้าผลีผลาม เท่านี้ก็เกินคุ้มแล้วสำหรับการป้องปราม


ดังนี้แล้วผมก็มีคำถามกับท่านทั้งหลายว่า จำเป็นไหมที่กองทัพเรือไทยต้องมีเรือดำน้ำ?

By Sukom / www.thaidefense-news.blogspot.com

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ผลงานวิจัย ศวอ.ทอ. : โครงการพัฒนาระบบคำนวณหาพิกัดเรดาร์ข้าศึกในเวลาจริง

*ศวอ.ทอ. : ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ


วัตถุประสงค์ เพื่อต้องการหาพิกัดเรดาร์ข้าศึกเป็นระบบเวลาจริง(REALTIME) โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ในการคำนวณ และแสดงผลในจอภาพ
ความเป็นมา 
ในการบินเพื่อตรวจจับสัญญาณเรดาร์ของข้าศึกนั้น จนท.จะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า DIRECTION FINDER (DF) เพื่อตรวจจับทิศทาง ของเรดาร์ฝ่ายข้าศึก โดยเมื่อบินไปที่ตำแหน่งพิกัดหนึ่งๆ จนท.ก็จะ บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับทิศทางของสัญญาณเรดาร์ข้าศึก พร้อมทั้งบันทึกตำแหน่งพิกัด ของอากาศยาน ในขณะนั้น และเมื่อ บ.บินไปได้อีกระยะหนึ่ง จนท.ก็จะบันทึกข้อมูลดังกล่าวเพิ่มเติมอีก แล้วนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ และคำนวณหาตำแหน่งพิกัดของเรดาร์ข้าศึก การปฏิบัติงานมีปัญหาและสาเหตุดังต่อไปนี้
- ต้องใช้บุคลากรที่มีประสบการณ์สูงในการปฏิบัติงาน
- มีความยุ่งยากในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์
- มีข้อผิดพลาดทางพิกัดสูงมาก
- มีความล่าช้าต่อการแสดงผลเพราะต้องใช้ จนท.จดบันทึกคำนวณและ วัดระยะบนแผนที่จริง หลังจากกลับลงมายัง ภาคพื้นเนื่องจากระบบ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีความล่าช้า และมีความคลาดเคลื่อนสูง ทอ. จึงมีแนวความคิดในการปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น ตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง และในปี ๓๙ กองบิน ๖ พล.บ.๑ บยอ. ได้จัดทำและเสนอโครงการร่วมกับ ศวอ.ทอ. เพื่อนำคอมพิวเตอร์ และระบบ GPS มาใช้ในการปฏิบัติงาน จากนั้น ศวอ.ทอ. จึงได้นำเสนอโครงการดังกล่าว ในที่ประชุมคณะกรรมการมาตรฐานระบบอาวุธ ทอ. และได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการ เมื่อ ต.ค.๔๒



การดำเนินงานที่ผ่านมา ศวอ.ทอ.ได้จัดหาวัสดุและครุภัณฑ์ตามความต้องการของโครงการแล้ว และ ได้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้วยภาษา VISUAL BASIC และ MAP BASIC เพื่อเชื่อมต่อกับโปรแกรมที่ใช้แสดงผล ในส่วนของแผนที่ ตลอดจนเชื่อมต่อกับเครื่องรับสัญญาณ GPS เข้ากับชุดคอมพิวเตอร์ ในเบื้องต้นได้ทดสอบการทำงานของระบบในห้องปฏิบัติการ ผลปรากฏว่าระบบ ทำงานได้ถูกต้องตามที่ออกแบบไว้ จึงได้นำชุดต้นแบบไปทดลองติดตั้งและทดสอบการใช้งานกับ บ.ARAVA ณ บน.๔ พล.บ.๓ บยอ. จำนวน ๒ ครั้ง ได้ผลการทดสอบเป็นที่น่าพอใจต่อมา ศวอ.ทอได้ทำการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามที่ได้ออกแบบไว้ ในขั้นต้นให้ใช้งานร่วมกับ ชุดเข็มทิศ แบบดิจิตอล (DIGITAL COMPASS) เพื่อให้การคำนวณทิศทาง ของเรดาร์ข้าศึกมีีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น และนำชุดต้นแบบที่ได้พัฒนาเพิ่มเติมไป ทำการติดตั้งเพื่อทดลองใช้งานกับ บ.ARAVA ณ บน.๔ พล.บ.๓ บยอ. ผลการทดสอบ และการใช้งานเป็นที่น่าพอใจ จากนั้นในเดือน ก.ค.๔๔ จึงได้แนะนำวิธีการใช้งานของ ระบบและ มอบชุดต้นแบบให้กับ จนท.ของ บน.๔ ฯ เพื่อนำไป ทดลองใช้งานจริง รวมทั้งเก็บข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อ ศวอ.ทอ.จะพัฒนา ให้ดียิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป
ประโยชน์ที่จะได้รับ
- มีชุดอุปกรณ์เครื่องต้นแบบพร้อมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้สำหรับการคำนวณหาพิกัด เรดาร์ข้าศึก ในเวลาจริง (REAL TIME)
- เพิ่มประสบการณ์ จนท.ที่ทำการวิจัยให้มีความรูู้้ความสามารถสูงขึ้น
การนำไปใช้งาน
ขณะนี้ การดำเนินโครงการได้สิ้นสุดลงแล้ว และได้ผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งชุดการคำนวณหาพิกัดเรดาร์ข้าศึกในเวลาจริง (REAL TIME) จะมีความสะดวก และง่ายต่อการใช้งาน จนท.ของ บน.๔ พล.บ.๓ บยอ. สามารถนำไปใช้งานจริงได้กับ บ.ARAVA เพื่อปฏิบัติภารกิจในด้าน สงครามอิเล็กทรอนิกส์ต่อไป

ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน ๑ ปี ๘ เดือน ตั้งแต่ ต.ค.๔๒ ถึง พ.ค.๔๔
งบประมาณ
ใช้งบประมาณ ทอ. เป็นเงิน ๓๘๐,๐๐๐.- บาท (สามแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)

รายชื่อคณะทำงาน
๑. น.อ.ธวัชชัย เลื่อนฉวี                          ๒. น.อ.กรวิตต์ วัชรสินธุ์
๓. น.ท.อดทน สิทธิเวช                          ๔. น.ต.สรศักดิ์ ชาสมบัติ
๕. ร.อ.เทพ บำรุงธรรม                            ๖. ร.อ.ศมกฤต ธานีรัตน์
๗. ร.อ.สุนันท์ ชูมาลี                               ๘. ร.ท.กฤษณะ ดอนไพรคำ
๙. ร.ต.วิระชัย โยวะกา                            ๑๐. พ.อ.อ.วิชิต แสนมีสุข


http://www.rdc.rtaf.mi.th/research.php

งานวิจัยและพัฒนาจำนวนมาก ทั้งที่ได้ดำเนินการไปแล้ว และกำลังดำเนินการอยู่ ของ ศวอ.ทอ.
คลิกที่นี่ http://www.rdc.rtaf.mi.th/research.php        

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ตรวจเยี่ยม เรือหลวงสุโขทัย


พล.ร.ต.ดุษฎี สังขปรีชา ผบ.กฟก.๑ กร.พร้อมคณะ ตรวจความพร้อมของ ร.ล.สุโขทัย เพื่อรับทราบปัญหา และข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน ณ ทลท.กทส.ฐท.สส.อ.สัตหีบ จว.ชลบุรี เมื่อ ๑๖ มิ.ย.๕๔

ภาพข่าวจาก: ข่าว/กิจกรรม กองเรือฟริเกตที่ 1

ร.ล.สุโขทัย
ประเภทเรือ                  เรือคอร์เวต
วางกระดูกงู                  ๒๖ มี.ค. ๒๕๒๗ ต่อที่ สหรัฐอเมริกา
ขึ้นระวางประจำการ       ๑๙ ก.พ.๒๕๓๐
ระวางขับน้ำเต็มที่          ๙๖๐ ตัน
ขนาดความยาว             ๗๖.๘ เมตร ความกว้าง ๙.๖ เมตร
กินน้ำลึก                      ๔.๕ เมตร
ความเร็วสูงสุด              ๒๔ นอต  มัธยัสถ์ ๑๘ นอต
รัศมีทำการ                    ๓,๕๖๘ไมล์ ที่ความเร็วมัธยัสถ์


ระบบอาวุธ:
ปืน 76/62 มม. ๑ กระบอก
ปืน 40L70 มม. แท่นคู่ ๑ กระบอก

ปืน 20 มม. ๒ กระบอก
ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี พื้น-สู่-พื้น แบบ ฮาร์พูน ๒ แท่น (๘ ท่อยิง)
ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี พื้น-สู่-อากาศ แบบ อัลบราทรอส ๑ แท่น (๘ ท่อยิง)
ท่อตอร์ปิโด ๒ แท่น(๖ ท่อยิง)